เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างแอร์น้ำยา R32 กับน้ำยาR410a และR22

เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างแอร์น้ำยา R32 กับน้ำยาR410a และR22

ก่อนอื่นขออธิบายเรื่อง ชั้นก๊าซเรือนกระจกก่อนเพราะเรื่องนี้ทำให้พระเอกเก่าอย่าง R410A ติดคดีเรื่องนี้ ทำให้พระเอกใหม่ R32 ขึ้นแท่นแทน  เมื่อก่อน เราเคยใช้น้ำยา R11,R12เป็นน้ำยาทำความเย็นก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น R22,R134Aในช่วงต่อมาเนื่องจาก R11,R12ไปติดคดีทำให้โลกเป็นรูเนื่องจากส่วนประกอบของ R11 (CFCL3) ดันไปมีผู้ร้ายที่ทำโลกเป็นรูู ชื่อ คลอรีน CL อยู่ถึง 3 พี่น้องเกาะกัน ส่วน R12 (CFCL2)มีพี่น้องคลอรีน CL 2 พี่น้องเกาะกัน เลยหันเปลี่ยนไปใช้ R-22 (CLCHF2)ที่มี CL อยู่แค่ตัวเดียว และมีระยะเวลาคงสภาพไม่นานที่ 20 ปี ก็ สสายตัว

สารทำความเย็น ระยะเวลาคงสภาพ (ปี)
R-11  65
R-12  146
R-22  20

ค่าที่ทำให้โลกเป็นรูมากน้อยหรือ ค่าความสามารถในการทำลายโอโซน เราเรียกว่าค่า ODP (Ozone Depletion Potential)ค่านี้น้ำยาตัวไหนมี CL อยู่ คลอรีนจะไปจับกับโอโซน (O3) ดังสมการ

CL + O3 ————————-> CLO + O2

คลอรีนมอนอกไซด์ CLO ที่เกิดขึ้นจะไปทำปฏิกริยากับออกซิเจนอะตอม ทำให้เกิดคลอรีนอิสระCL ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับโอโซนO3 ได้อีกดังสมการ

CLO + O ———> CL + O2

คลอรีนที่เกิดก็วิ่งไปหาโอโซนอีกรอบ

CL + O3 ————————-> CLO + O2

เมื่อมันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แน่นอนครับ โอโซนโดนสอยเกลี้ยงแน่ ซึ่งตอนนี้ พระเอกวัยเก๋าอย่าง R-22 ที่มีคลอรีน กำลังจะโดนฆ่าตัดตอน โดยมีพระเอกชั่วคราวอย่าง R-410A มาเล่นบทพระเอกอยู่ในขณะนี้แต่เหตุใดพระเอกชั่วคราวอย่าง R-410A ได้โลดแล่นไม่นานก็กำลังจะโดนพระเอกรักษ์โลกอย่าง R-32 มาแทนในอีก 2-4ปีข้างหน้าเล่า เหตุผลหลักมาจาก ค่าความสามารถในการทำให้โลกร้อนขึ้น เรียกว่า GWP (Global Warming Potential) ของน้ำยา R410A มีค่าที่สูงกว่าR22 และ R32 ตามตารางด้านล่าง R410A มีค่าทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ถึง 2090 ขณะที่R32มีเพียง 675 และ R22ผู้ร้ายของเรายังมีค่าน้อยกว่าR410Aซะด้วยซ้ำ  แต่พระเอก R32 แม้เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3ชนิดน้ำยาจัดว่าหล่อสุด ไม่ทำลาย โอโซน มีค่าการทำให้โลกร้อนน้อยมากแต่ R32 มีข้อตำหนินิดนึงตรง ติดไฟเล็กน้อย แบบเบาบาง แบบไม่ก่อให้เกิดอันตราย ทางประเทศญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสูงมาก ไม่ค่อยจะให้น้ำหนักเท่าไหร่สำหรับประเด็นนี้ เนื่องจากน้อยมาก จนทางญี่ปุ่นตีว่าเป็นน้ำยาที่ไม่ติดไฟ และ น้ำยาR32ก็เป็นส่วนประกอบของน้ำยาR410Aอยู่ถึงครึ่งหนึง (R410A =50%R32 +50%R125) หายห่วงได้ครับประเด็นนี้ ดูจากภาพประกอบจะเห็นว่า เมื่อนำน้ำยาR32รั่วเข้าในห้องที่จุดเทียน มีเพียงแค่เทียนสว่างขึ้นเล็กน้อยเองครับ หรือภาพทดสอบการติดไฟโดยใช้หัวเชื่อมไปเจอจุดรั่วเลย จะเห็นว่า R22ซึ่งใช้น้ำมันคอมเพรสเซอร์ชนิด Mineral oil ยังมีเปลวไฟมากกว่าด้วยซ้ำ

 

ข้อสรุปของน้ำยาR32 เมื่อเทียบกับ R410A และR22

ข้อ 1 เรื่องการทำลายชั้นโอโซนและการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก R32 ไม่มีค่าการทำลายโอโซนเหมือนR410A และมีค่าที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกน้อยที่สุดส่วนR410Aมากสุด เมื่อเทียบ3ชนิดน้ำยา

ข้อ 2 เรื่องราคาน้ำยา แพงสุดคือ R410A ประมาณ กก ละ 700-800 บาท ส่วน R22 กับ R32 ใกล้เคียงกันประมาณ 300-400 บาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)

ข้อ 3 กรณีน้ำยารั่วในระบบเครื่องปรับอากาศ R-410A ต้องถ่ายทิ้งให้เป็นศูนย์ แล้วเติมเข้าไปใหม่อีกรอบเติมเพิ่มไม่ได้ เพราะสัดส่วนน้ำยา50%R32 +50%R125 อาจจะไม่เท่านี้แล้ว ส่วน R22 และ R32 เหมือนกันคือเติมเพิ่มได้เลย เนื่องจากเป็นสารเชิงเดี่ยว ไม่ได้เป็นสารผสม

ข้อ 4 กรณีช่าง ต้องเติมน้ำยาในสถานะของเหลวเพียงอย่างเดียว โดยการคว่ำถังน้ำยาR410A แต่ R32 และ R22 เติมได้ทั้งในสถานะของเหลว หรือ แก๊สก็ได้

ข้อ 5 ความดันของน้ำยา R32 กับ R410A ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งหรือบริการใช้ร่วมกันแทนกันได้ ส่วน R22 เป็นน้ำยาแรงดันต่ำใช้ร่วมกับ R410AและR32ไม่ได้

ข้อ 6 จุดเดือดน้ำยาของ R32 ต่ำที่สุด ดังนั้นคอมเพรสเซอร์ทำงานเบาสุด ส่งผลให้ได้ค่าประสิทธิภาพการทำความเย็นดีกว่า และประเด็นเย็นเร็วกว่า R410A และ R22

ข้อ 7 สรุปเครื่องมือซ่อมบำรุงสำหรับR32

[กรณีเปลี่ยนจาก R22] R32 มีแรงดันสูงกว่า R22 (ประมาณ 1.6 เท่า) และน้ำมันคอมเพรสเซอร์ที่ใช้กับ R32 จะเป็นน้ำมันสังเคราะห์ (Ether oil) แทนน้ำมัน SUNISO ที่ใช้กับ R22 หากผสมน้ำมันชนิดที่ไม่เหมาะสมกับสารทำความเย็น อาจทำให้เกิดตะกอนและปัญหาอื่นๆ ตามมา ดังนั้นเครื่องมือซ่อมบำรุงที่ใช้กับระบบ R22 เช่น มานิโฟล์เกจ (guage manifold) และสายชาร์จสารทำความเย็นจึงไม่สามารถใช้ร่วมกับ R32 ได้ ให้ใช้เครื่องมือที่กำหนดไว้สำหรับ R32 เสมอ

[กรณีเปลี่ยนจาก R410A] เนื่องจาก R32 มีแรงดันเท่ากับ R410A และใช้น้ำมันคอมเพรสเซอร์ประเภทที่เป็นน้ำมันสังเคราะห์ (Ether oil) เหมือนกัน ทั้งนี้สารทำความเย็นทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เครื่องมือที่ใช้กับระบบ R410A จึงสามารถใช้ร่วมกับระบบ R32 ได้

Posted in รอบรู้เรื่องแอร์.